วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

เครือข่ายคอมพิวเตอร์


เครือข่ายคอมพิวเตอร์

 หรือ คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ก (อังกฤษcomputer network; ศัพท์บัญญัติว่า ข่ายงานคอมพิวเตอร์) คือเครือข่ายการสื่อสารโทรคมนาคมระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ การเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆในเครือข่าย (โหนดเครือข่าย) จะใช้สื่อที่เป็นสายเคเบิลหรือสื่อไร้สาย เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันดีคือ อินเทอร์เน็ต
การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะมีการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกัน เพื่อเพิ่มความสามารถของระบบให้สูงขึ้น และลดต้นทุนของระบบโดยรวมลง
การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันในเครือข่าย ทำให้ระบบมีขีดความสามารถเพิ่มมากขึ้น การแบ่งการใช้ทรัพยากร เช่น หน่วยประมวลผลหน่วยความจำหน่วยจัดเก็บข้อมูลโปรแกรมคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีราคาแพงและไม่สามารถจัดหามาให้ทุกคนได้ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดภาพ (scanner) ทำให้ลดต้นทุนของระบบลงได้
อุปกรณ์เครือข่ายที่สร้างข้อมูล, ส่งมาตามเส้นทางและบรรจบข้อมูลจะเรียกว่าโหนดเครือข่าย. โหนดประกอบด้วยโฮสต์เช่นเซิร์ฟเวอร์, คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและฮาร์ดแวร์ของระบบเครือข่าย อุปกรณ์สองตัวจะกล่าวว่าเป็นเครือข่ายได้ก็ต่อเมื่อกระบวนการในเครื่องหนึ่งสามารถที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลกับกระบวนการในอีกอุปกรณ์หนึ่งได้
เครือข่ายจะสนับสนุนแอปพลิเคชันเช่นการเข้าถึงเวิลด์ไวด์เว็บ, การใช้งานร่วมกันของแอปพลิเคชัน, การใช้เซิร์ฟเวอร์สำหรับเก็บข้อมูลร่วมกัน, การใช้เครื่องพิมพ์และเครื่องแฟ็กซ์ร่วมกันและการใช้อีเมลและโปรแกรมส่งข้อความโต้ตอบแบบทันทีร่วมกัน

ชนิดของเครือข่าย

ระบบเครือข่ายจะถูกแบ่งออกตามขนาดของเครือข่าย ซึ่งปัจจุบันเครือข่ายที่รู้จักกันดีมีอยู่ 6 แบบ ได้แก่
  • เครือข่ายภายใน หรือ แลน (Local Area Network: LAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการ เชื่อมโยงกันในพื้นที่ใกล้เคียงกัน เช่นอยู่ในห้อง หรือภายในอาคารเดียวกัน
  • เครือข่ายวงกว้าง หรือ แวน (Wide Area Network: WAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการ เชื่อมโยงกัน ในระยะทางที่ห่างไกล อาจจะเป็น กิโลเมตร หรือ หลาย ๆ กิโลเมตร
  • เครือข่ายงานบริเวณนครหลวง หรือ แมน (Metropolitan area network : MAN)
  • เครือข่ายของการติดต่อระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ หรือ แคน (Controller area network) : CAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ติดต่อกันระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ (Micro Controller unit: MCU)
  • เครือข่ายส่วนบุคคล หรือ แพน (Personal area network) : PAN) เป็นเครือข่ายระหว่างอุปกรณ์เคลื่อนที่ส่วนบุคคล เช่น โน้ตบุ๊ก มือถือ อาจมีสายหรือไร้สายก็ได้
  • เครือข่ายข้อมูล หรือ แซน (Storage area network) : SAN) เป็นเครือข่าย (หรือเครือข่ายย่อย) ความเร็วสูงวัตถุประสงค์เฉพาะที่เชื่อมต่อภายในกับอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลชนิดต่างกันด้วยแม่ข่ายข้อมูลสัมพันธ์กันบนคัวแทนเครือข่ายขนาดใหญ่ของผู้ใช้

    อุปกรณ์เครือข่าย

    • เซิร์ฟเวอร์ (Server) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องแม่ข่าย เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์หลักในเครือข่าย ที่ทำหน้าที่จัดเก็บและให้บริการไฟล์ข้อมูลและทรัพยากรอื่นๆ กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ใน เครือข่าย โดยปกติคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้เป็นเซิร์ฟเวอร์มักจะเป็นเครื่องที่มีสมรรถนะสูง และมีฮาร์ดดิสก์ความจำสูงกว่าคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ในเครือข่าย
    • ไคลเอนต์ (Client) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องลูกข่าย เป็นคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายที่ร้องขอ บริการและเข้าถึงไฟล์ข้อมูลที่จัดเก็บในเซิร์ฟเวอร์ หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ ไคลเอนต์ เป็นคอมพิวเตอร์ ของผู้ใช้แต่ละคนในระบบเครือข่าย
    • ฮับ (HUB) หรือ เรียก รีพีตเตอร์ (Repeater) คืออุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกลุ่มคอมพิวเตอร์ ฮับ มีหน้าที่รับส่งเฟรมข้อมูลทุกเฟรมที่ได้รับจากพอร์ตใดพอร์ตหนึ่ง ไปยังพอร์ตที่เหลือ คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับฮับจะแชร์แบนด์วิธหรืออัตราข้อมูลของเครือข่าย เพราะฉะนั้นถ้ามีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อมากจะทำให้อัตราการส่งข้อมูลลดลง
    • เนทเวิร์ค สวิตช์ (Switch) คืออุปกรณ์เครือข่ายที่ทำหน้าที่ในเลเยอร์ที่ 2 และทำหน้าที่ส่งข้อมูลที่ได้รับมาจากพอร์ตหนึ่งไปยังพอร์ตเฉพาะที่เป็นปลายทางเท่านั้น และทำให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับพอร์ตที่เหลือส่งข้อมูลถึงกันในเวลาเดียวกัน ดังนั้น อัตราการรับส่งข้อมูลหรือแบนด์วิธจึงไม่ขึ้นอยู่กับคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันนิยมเชื่อมต่อแบบนี้มากกว่าฮับเพราะลดปัญหาการชนกันของข้อมูล
    • เราต์เตอร์ (Router)เป็นอุปรณ์ที่ทำหน้าที่ในเลเยอร์ที่ 3 เราท์เตอร์จะอ่านที่อยู่ (Address) ของสถานีปลายทางที่ส่วนหัว (Header) ข้อแพ็กเก็ตข้อมูล เพื่อที่จะกำหนดและส่งแพ็กเก็ตต่อไป เราท์เตอร์จะมีตัวจัดเส้นทางในแพ็กเก็ต เรียกว่า เราติ้งเทเบิ้ล (Routing Table) หรือตารางจัดเส้นทางนอกจากนี้ยังส่งข้อมูลไปยังเครือข่ายที่ให้โพรโทคอลต่างกันได้ เช่น IP (Internet Protocol) , IPX (Internet Package Exchange) และ AppleTalk นอกจากนี้ยังเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นได้ เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
    • บริดจ์ (Bridge) เป็นอุปกรณ์ที่มักจะใช้ในการเชื่อมต่อวงแลน (LAN Segments) เข้าด้วยกัน ทำให้สามารถขยายขอบเขตของ LAN ออกไปได้เรื่อยๆ โดยที่ประสิทธิภาพรวมของระบบ ไม่ลดลงมากนัก เนื่องจากการติดต่อของเครื่องที่อยู่ในเซกเมนต์เดียวกันจะไม่ถูกส่งผ่าน ไปรบกวนการจราจรของเซกเมนต์อื่น และเนื่องจากบริดจ์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับ Data Link Layer จึงทำให้สามารถใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายที่แตกต่างกันในระดับ Physical และ Data Link ได้ เช่น ระหว่าง Eternet กับ Token Ring เป็นต้น
    บริดจ์ มักจะถูกใช้ในการเชื่อมเครือข่ายย่อย ๆ ในองค์กรเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายใหญ่ เพียงเครือข่ายเดียว เพื่อให้เครือข่ายย่อยๆ เหล่านั้นสามารถติดต่อกับเครือข่ายย่อยอื่นๆ ได้
    • เกตเวย์ (Gateway) เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่างประเภทเข้าด้วยกัน เช่น การใช้เกตเวย์ในการเชื่อมต่อเครือข่าย ที่เป็นคอมพิวเตอร์ประเภทพีซี (PC) เข้ากับคอมพิวเตอร์ประเภทแมคอินทอช (MAC) เป็นต้น

วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

พัฒนาการของการสื่อสารข้อมูล



          1.  การสื่อสารยุคโบราณ เป็นการสื่อสารที่นิยมใช้ในอดีต 

 

 -  ภาพบนผนังถ้ำ

 

        การใช้สีธรรมชาติหรือก้อนหินขีดเขียนและวาดภาพต่าง ๆ  ไว้บนผนังถ้ำหรือก้อนหิน

  -  ควันไฟ  

         เป็นการสื่อสารโดยใช้กลุ่มของควันไฟแทนสัญลักษณ์ต่าง ๆ  เพื่อสื่อสารไปยังผู้รับสาร 


-  วิ่งผลัด

        เป็นการสื่อสารโดยใช้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลส่งต่อข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบของสารต่อกันไปเรื่อย ๆ  จนถึงปลายทาง 

-  นกพิราบสื่อสาร

 

        ป็นการสื่อสารโดยใช้สัตว์เป็นตัวกลางหลักในการสื่อสาร โดยใช้ธรรมชาติในการรู้ทิศทางของนกพิราบที่จะเดินทางกลับรังหรือที่อยู่ของมันได้ไม่ว่าจะถูกส่งมาจากที่ไหน

-  ม้าเร็ว 

 

        เป็นการสื่อสารโดยใช้มนุษย์และสัตว์เป็นสื่อกลางในการสื่อสาร ทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพมากกว่าการวิ่งผลัด 

  2.การสื่อสารยุคอุตสาหกรรม เป็นการสื่อสารที่ยังนิยมใช้ในปัจจุบัน แต่มีแนวโน้มที่จะเลิกใช้ในอนาคต

 -  โทรศัพท์หรือเทเลโฟน (Telephone) 

 

        เป็นการสื่อสารสองทิศทางพร้อมกัน แต่สามารถรับและส่งข้อมูลได้ในรูปแบบเสียงเท่านั้น โดยผู้สื่อสารทั้งสองฝ่ายจะต้องมีโทรศัพท์เพื่อใช้ในการสื่อสาร เวลาสื่อสารจะเป็นเวลาจริงในช่วงนั้น ๆ (Real Time) 

 

-  โทรสารหรือแฟกซ์ (Fax)

 

         พัฒนามาจากการสื่อสารประเภทโทรศัพท์ เพื่อให้สามารถส่งข้อมูลในรูปแบบตัวอักษรหรือข้อความไปยังผู้รับสารได้มากกว่าข้อมูลเสียงเพียงอย่างเดียว 


-  จดหมายและพัสดุ (Letter and Inventories)

 

        เป็นการสื่อสารในรูปแบบดั้งเดิมโดยใช้บริการในการส่งจดหมายและพัสดุจากหน่วยงานให้บริการการสื่อสาร

     

 3.  การสื่อสารในยุคปัจจุบันหรือการสื่อสารยุคโลกไร้สาย เป็นการสื่อสารที่มุ่งเน้นความสะดวกสบายของผู้ใช้และประสิทธิภาพของข้อมูลที่ใช้ในการสื่อสารเป็นหลัก 

 -  ไวไฟ (Wi-Fi)

 

       เป็นระบบเชื่อต่ออุปกรณ์ที่ทำงานบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไร้สาย (Wireless LAN) โดยใช้คลื่นสัญญาณวิทยุทำให้สามารถติดต่อสื่อสารข้อมูลได้ระหว่างอุปกรณ์นั้น ๆ  

 


 

-  ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล (Electronic Mail หรือ E-Mail)

 

        เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ส่งข้อความในรูปของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ไปยังบุคคลอื่น การสื่อสารนี้ผู้ใช้จะต้องมีที่อยู่ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้รับหรืออีเมลแอดเดรส (E-Mail Address) เ


  -  บลูทูท (Bluetooth)

 

        เป็นระบบเชื่อมต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อสื่อสารระหว่างอุปกรณ์นั้น ๆ  โดยอาศัยคลื่นความถี่หรือสัญญาณวิทยุ 


-  การสนทนาออนไลน์หรือแชท (Chat)

 

        เป็นการสนทนาระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคล ปัจจุบันสามารถพัฒนาให้ใช้ภาพกราฟิก ภาพการ์ตูนหรือภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ  แทนภาพผู้สื่อสารได้ 

 

           

-  วีดีโอทางไกล (Video Conferencing)

 

       เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยการส่งภาพและเสียงจากฝ่ายหนึ่งไปสู่อีกฝ่ายหนึ่ง การใช้วิดีโอทางไกลต้องมีอุปกรณ์สำหรับบันทึกภาพและอุปกรณ์บันทึกเสียง โดยที่ภาพและเสียงที่ส่งไปนั้นสามารถแสดงเป็นภาพเคลื่อนไหวที่มีเสียงประกอบได้ 

 

วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ความรู้เบื้องต้นของการสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ไม้ 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง

การปลูกป่า 3 อย่าง ได้ประโยชน์ 4 อย่าง พระองค์มีพระราชดำรัส ดังนี้
“การ ปลูกป่าถ้าจะให้ราษฎรมีประโยชน์ให้เขาได้ให้ใช้วิธีปลูกไม้ 3 อย่าง แต่มีประโยชน์ 4 อย่าง คือ ไม้ใช้สอย ไม้กินได้
ไม้เศรษฐกิจ โดยปลูกรองรับการชลประทาน ปลูกรับซับน้ำ และปลูกอุดช่วงไหล่ตามร่องห้วยโดยรับน้ำฝนอย่างเดียว
ประโยชน์อย่างที่ 4 คือสามารถช่วยอนุรักษ์ดินและน้ำ”
แปลความสรุปอย่างเข้าใจง่าย ปลูกไม้ให้พออยู่ พอกิน พอใช้ และระบบนิเวศน์
พออยู่ หมายถึง ไม้เศรษฐกิจปลูกไว้ทำที่อยู่อาศัย และจำหน่าย
พอกิน หมายถึง ปลูกพืชเกษตรเพื่อการกินและสมุนไพร
พอใช้ หมายถึง ปลูกไม้ไว้ใช้สอยโดยตรงและพลังงาน เช่น ไม้ฟืน, และไม้ไผ่ เป็นต้น
ประโยชน์ต่อระบบนิเวศน์ สร้างความสมบูรณ์และก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่า
โครงการปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
หลักการและเหตุผล
วัตถุประสงค์
1. ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ตามแนวคิด ป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง
2. จัดรูปแบบการปลูกให้เกิดคุณค่าและบูรณาการในพื้นที่ทำกินเดิมให้มีสภาพใกล้เคียงกับป่า
3. สร้างมูลค่าต้นไม้ที่ปลูกทำให้เป็นทรัพย์ เพื่อออมทรัพย์และใช้แก้ปัญหาความยากจน
วิธีการดำเนินการ
1. การจัดแบ่งที่ดินทำกินเพื่อใช้ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง จากพื้นที่ทำกินอยู่เดิม ที่เป็นพื้นที่สวน ไร่หรือนา     แบ่งพื้นที่ออกมา ร้อยละ 30-50 โดยมีรูปแบบการจัดแบ่ง 3 รูปแบบ ดังนี้
      1. พื้นที่จัดแบ่งปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง
1.1 จัดแบ่งโดยใช้พื้นที่รอบแนวเขตพื้นที่ทำกิน ปลูกในพื้นที่ร้อยละ 30-50 ตามแนวเขตแดนพื้นที่ ทำกิน
      2. พื้นที่จัดแบ่งปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง
1.2 จัดแบ่งออกมาชัดเจนเป็นส่วน ปลูกในพื้นที่ร้อยละ 30-50 โดยจัดส่วนอยู่ด้านหนึ่งของพื้นที่
1.3 จัดแบ่งเป็นริ้วหรือแถบตามความเหมาะสม
      3. พื้นที่จัดแบ่งปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง
2. การจัดองค์ประกอบ พันธุ์ไม้ตามวัตถุประสงค์ โดยการปลูกพันธุ์ไม้ในพื้นที่ตามความเหมาะสม แต่ให้ได้องค์ประกอบซึ่งให้เกิดความพออยู่ พอกิน พอใช้ ดังนี้
2.1 ปลูก เพื่อให้เกิดความเพียงพอในด้านพออยู่ เช่น การปลูกต้นไม้สำหรับใช้เนื้อไม้มาปลูกสร้างอาคารบ้านเรือนที่อยู่อาศัย เช่น ไม้ตะเคียนทอง, สัก, ยางนา, มะฮอกกานี, กระทินเทพา, จำปาทอง ฯลฯ
2.2 ปลูกเพื่อให้เกิดความเพียงพอในด้านการพอกิน เช่นการปลูกต้นไม้สำหรับใช้กิน เป็นอาหาร เป็นยาสมุนไพร เป็นเครื่องดื่ม ตลอดจนพืชที่ปลูกเพื่อการค้าขายผลผลิตเพื่อดำรงชีพ เช่น ไม้ผลต่าง ๆ ได้แก่ เงาะ, ทุเรียน, มังคุด, ลองกอง, มะม่วง ฯลฯ ไม้ที่ให้ผลผลิตเพื่อขาย เช่น ปาล์ม, มะพร้าว, ยางพารา ฯลฯ
2.3 ปลูกเพื่อให้เกิดความเพียงพอในด้านการพอใช้ เช่น ปลูกต้นไม้สำหรับใช้สอย ในครัวเรือน ใช้พลังงาน ใช้เป็นเครื่องมือต่าง ๆ ในการประกอบอาชีพ ได้แก่ ไม้ไผ่,หวาย สำหรับจักสานเป็นเครื่องเรือน ของใช้ ฯลฯ ไม้โตเร็วบางชนิดที่ใช้เป็นไม้ฟืน,ถ่าน ไม้พลังงาน เช่น สบู่ดำ, ปาล์ม ฯลฯ ไม้ทำเครื่องมือการเกษตร ได้แก่ การทำด้ามจอบ, มีด, ขวาน, ทำรถเข็น, โต๊ะ, เก้าอี้, ตู้ ฯลฯ

วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559